Skip to main content

การดูแลคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย


SNMRI
Enrollment is Closed

เกี่ยวกับหลักสูตร

ฐานข้อมูลทะเบียนคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ณ วันที่ 30 เมษายน 2558 พบ ผู้ขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการทั้งสิ้น 1,676,044 คน โดยเป็นผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายจำนวน 278,547 คน ซึ่งสูงเป็นอันดับสองรองจากความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย ซึ่งมีจำนวน 802,783 คน

นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่ในการประเมินและฟื้นฟูผู้พิการทางการได้ยินหรือ สื่อความหมาย แต่ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรในสาขานี้อย่างมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ทำให้ผู้พิการที่มีปัญหาด้านภาษา การพูด และการได้ยิน ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดผลกระทบในหลาย ๆ ด้านตามมา ได้แก่ ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ และผู้ดูแลเกิดความเครียดในการดูแลผู้พิการในระยะยาว

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็น นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายที่มาจากสมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทย จากโรงพยาบาล และจากมหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำหลักสูตรอบรมจิตอาสา อาสาสมัคร เพื่อผู้แลผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายขึ้น และพัฒนาต่อยอดเป็นคู่มือสำหรับผู้สอนหลักสูตรเพื่อใช้ประกอบการอบรม โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้สอนสามารถนำ หลักสูตรไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพของจิตอาสา อาสาสมัครให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะเฉพาะในการดูแลผู้ป่วย และผู้พิการแบบองค์รวม
2. สามารถประเมินอาการเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การส่งต่อเพื่อให้ผู้ป่วยและผู้พิการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องกับ บุคลากรทางการแพทย์ตามระดับอย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้คนพิการหรือผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถอยู่ในสังคมได้ตามศักยภาพ

วิธีการประเมิน

1. การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน
2. การลงฝึกปฏิบัติ
3. การทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 70
4. เข้าร่วมอบรมตลอดทั้งหลักสูตร
5. แบบประเมินความพึงพอใจ