Skip to main content

การดูแลสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย


SNMRI
Enrollment is Closed

บทนำและรายละเอียดหลักสูตร

ความพิการการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย เป็นความพิการที่ในปัจจุบันพบมากเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากโรคหลอดเลือดสมองและโรคไขสันหลังบาดเจ็บ ซึ่งคนพิการเหล่านี้ต้องได้รับการฟื้นฟูและการดูแลต่อเนื่องทั้งในโรงพยาบาลและหลังออกจากโรงพยาบาล แต่เนื่องจากปัญหาระยะเวลาในการฟื้นฟู จำนวนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่จำกัด การขาดแคลนบุคลากรทางด้านการฟื้นฟู จึงทำให้คนพิการเหล่านี้กลับไปอยู่บ้านโดยยังไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้ดูแลคนพิการจึง มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูคนพิการ ซึ่งผู้ดูแลคนพิการจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการดูแลคนพิการ เพื่อสามารถดูแลคนพิการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของคนพิการ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์เล็งเห็นความสำคัญในฐานะหน่วยงานวิชาการ ซึ่งมีความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงให้มีการพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้ดูแลคนพิการเรื่อง“การดูแลคนพิการการเคลื่อนไหวและทางร่างกาย”ขึ้น และได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ อาทิเช่น คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ และองค์กรเครือข่ายด้านคนพิการ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อให้หลักสูตรอบรมดังกล่าว มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลคนพิการและสามารถนำคู่มือดังกล่าวไปปรับใช้ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับคนพิการได้อย่างแท้จริง

หลักสูตรอบรมเรื่อง การดูแลคนพิการการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย เอกสารสำหรับหลักสูตรแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ สำหรับผู้สอนได้แก่คู่มือผู้สอน สื่อการสอนในรูปแบบ ฉบับอิเลคทรอนิค สำหรับผู้เรียน ได้แก่เอกสารประกอบการเรียน เพื่อใช้ประกอบารอบรม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรความรู้เบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลคนพิการการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ให้มีสมรรถนะในการดูแลสุขภาพคนพิการการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ให้มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเฉพาะ ในการดูแลคนพิการจากสาเหตุโรคหลอดเลือดสมองและโรคไขสันหลังบาดเจ็บแบบองค์รวม อีกทั้งนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริงในการดูแลคนพิการ สามารถประเมินอาการเบื้องต้นเพื่อนำสู่การส่งต่อ เพื่อให้คนพิการได้รับการดูแลต่อเนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เรียน
1. บุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบคนพิการการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
2. ผู้ดูแลคนพิการที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นคนพิการการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
3. จิตอาสาหรืออาสาสมัครที่สนใจและมีประสบการณ์การดูคนพิการการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย

วิธีการประเมิน

1. เกณฑ์ในการสอบประเมิน ผู้เรียนต้องผ่านมากกว่าร้อยละ 80
2. ต้องเข้าเรียนครบทุกหมวดวิชามากกว่าร้อยละ 80